EN | TH
Dentist Dental In Pattaya
Tel: (038)488354 , (038)488355
 

Gingivitis & Periodontitis

At OrthoSmile our team of specialists are renowned for their work with braces, dental implants in the "Aesthetic Zone", cosmetic porcelain veneers, ceramic crowns, Invisalign clear braces, and gum contouring surgery. Our dentist team have been educating in the field of cosmetic dentistry for decades and continuing to lead the way in the advancement of cosmetic dental materials, cosmetic periodontal surgery and cosmetic dental implant reconstructions in Thailand.

โรคปริทันต์

โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์ มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน

โรคเหงือกอักเสบ Gingivitis

โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นอาการอักเสบของเหงือกซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ผลข้างเคียงของการรับประทานยาบางชนิด และการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เป็นต้น

โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ Periodontitis

โรคปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ (Periodontitis) มักก่อให้เกิดการละลายของรากฟัน เป็นสาเหตุของอาการฟันโยกและอาจต้องทำการถอนฟันทิ้งไปในที่สุด และยังเป็นสาเหตุของกลิ่นปากอีกด้วย

สาเหตุของโรคปริทันต์

สาเหตุเบื้องต้น คือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นในสภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟัน ที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรดและสารพิษออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ล่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็อาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับขากรรไกร

อธิบายอีกนัยหนึ่ง คือ คราบเชื้อโรคเมื่อเกาะบนผิวฟันนานๆกลายเป็นคราบหินปูน เมื่อมีคราบหินปูนก็เป็นที่สะสมของคราบเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น เมื่อคราบหินปูนและแบคที่เรียสะสมมากขึ้นและนานขึ้น จะเพิ่มปริมาณลึกลงไปใต้ขอบเหงือก ทำให้การอักเสบลุกลามลงไปยังอวัยวะปริทันต์ทั้งหมด จึงเกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ตามมา

อาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคปริทันต์
  • มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
  • เหงือกบวมแดง
  • มีกลิ่นปาก
  • เหงือกร่น
  • อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
  • ฟันโยก

การรักษาโรคเหงือกควรจะรีบทำการรักษาในทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น หากพบอาการของโรคเหงือก ควรจะเข้าพบทันตแพทย์ หรือทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อที่จะทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้ โรคเหงือก จะทำให้สูญเสียฟันได้

ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก

เมื่อทราบสาเหตุแล้วว่า โรคปริทันต์ ว่าเกี่ยวข้องกับการสะสมของคราบหินปูน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน(Root planing) ร่วมด้วย คำว่าเกลารากฟันนี้อาจจะเป็นศัพท์ใหม่ ที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้น แปลไทยเป็นไทยได้ว่า ทำผิวรากฟันให้เรียบ (เกลา = ทำให้เรียบ) คือการกำจัดคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟันให้หมด จนได้ผิวรากฟันที่เรียบแข็ง ช่วยให้เหงือกกลับมายึดได้ดีขึ้น

สรุปขั้นตอนการรักษา

การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้นบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือการทำให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง

หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่า หายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย

ท่านจะต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยตนเอง อย่างน้อยจะต้องใช้แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมดทุกวัน

ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูว่ามีคราบจุลินทรีย์และหินปูนหลงเหลือจากการทำความสะอาดเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้รับการรักษาในระยะแรก

หากในคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ ก็อาจจำเป็นต้องพบทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการเกลารากฟัน เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่บริเวณตัวฟัน และผิวรากฟัน การขูดเหงือกเป็นการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อที่ช่องเหงือก การขูดหินปูน และการขูดเหงือกเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างจริง ก็จะเพียงพอต่อการควบคุมโรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ การขูดหินปูนและการขูดเหงือก อาจจะไม่ได้ผล ซึ่งในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งระหว่างการผ่าตัดนี้ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะทำการยกเหงือกเพื่อที่จะดูการลุกลามไปที่รากหรือกระดูก คราบจุลินทรีย์และหินปูนที่ได้ทำการขจัดออกจากบริเวณและจากกระดูกฟัน จากนั้นนำเหงือกกลับสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมที่เหมาะแก่การทำความสะอาดหลังการรักษา

เมื่อมีการเปิดเหงือก และกระดูกมีการสูญเสียไป บางครั้งคนไข้ต้องรักษาโดยการปลูกกระดูก ซึ่งการปลูกกระดูกนี้เป็นการสร้างกระดูกจากไขกระดูกในปากของเราเอง หรือจากกระดูกเทียม ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะทำการนัดคนไข้ ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ในบางกรณีก็สามารถเสร็จได้ภายในครั้งเดียว

เมื่อพบว่าเหงือกมีเลือดออกและเจ็บเล็กน้อยเวลาแปรงฟัน อาจจะเป็นอาการเบื้องต้นของโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเกิดจากการมีเศษอาหารและเชื้อโรคสะสมอยู่บริเวณเหงือกและคอฟัน ทำให้เกิดอาการอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดหนองและลุกลามติดเชื้อสู่รากฟันได้ แนวทางป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ คือ การแปรงฟัน ให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันอย่างสม่ำเสมอ โรคปริทันต์สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ถ้าดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี ดังนั้นจึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอย่างสม่ำเสมอด้วยการแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ

การรักษาฟันโยกคลอน

การที่ฟันโยกคลอนไม่ได้หมายถึงต้องเป็นโรคเหงือกทุกรายไป แต่ถ้าคุณกดไปที่ตัวมันแล้วฟันหดเข้าไปในเหงือก โรคเหงือกอาจจะเป็นสาเหตุ หากเป็นโรคเหงือกไม่มากแล้วฟันมีการโยกคลอน อย่างรุนแรงทันตแพทย์จะทำการรักษา การรุกลามที่ปัญหาก่อน

ในบางครั้งการสูญเสียกระดูกมากๆ การปลูกกระดูกไม่สามารถทำได้ในทุกรายไป อาจจะทำโดยการยึดฟันไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาชั่วคราวเพื่อให้ฟันมีความเสถียรภาพ หากฟันของคุณมีการเคลื่อนตัวอย่างต่อเนื่อง ทันตแพทย์แนะนำให้ทำการยึดฟัน ซึ่งการยึดฟันไว้ด้วยกันด้วยแผ่นพลาสติก หรือเครื่องมือที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเป็นการรับแรงดันจากการบดเคี้ยว ระหว่างที่เหงือกและฟันทำการรักษาอยู่

การรักษาสำหรับการสูญเสียเหงือก

เนื้อเยื่อของเหงือกสามารถสูญเสียได้ เกิดจากหลายสาเหตุ รวมถึง โรคเหงือก, การติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือเป็นแผล หรือการถอนฟัน ในหลาย ๆ กรณีที่เหงือกถอยร่นไป สร้างปัญหาด้านความสวยงาม เช่นในกรณีการปลูกเนื้อเยื่อเหงือกเป็นการแก้ไขความผิดปกติ หรือเป็นการป้องกันก่อนที่จะลุกลาม

หากการสูญเสียเหงือกรุนแรง อาจจะนำวิธีการนำเหงือกเทียมถอดได้มาใช้ ทำจากพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น นำมาปรับให้ได้รูปกับตัวฟัน และคลุมช่องว่างระหว่างฟัน ซึ่งต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

Full Crowning หรือการเคลือบฟัน สามารถนำมาใช้ได้เพื่อปกปิดเนื้อเยื่อที่สูญเสียไป แต่โดยปกติไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ หากฟันต้องการทำให้ดีดังเดิม ทางที่เป็นไปได้ใช้ composite resin ในการสร้างเนื้อฟันและปิดช่องว่าง ปกตินิยมทำการ เพราะเป็นการลดค่าใช้จ่าย และกรอเนื้อฟันออกเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การทำอย่างนี้ต้องทำซ้ำเมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่ปี และไวต่อการเกิดคราบ

การรักษาสำหรับเหงือกร่น

เหงือกร่นเป็นต้นเหตุของโรคเหงือก ซึ่งจะเป็นปัญหาของความสวยงามด้วยเช่นกัน ถ้าคุณยิ้มแล้วเห็นเหงือก โดยเฉพาะหากคุณมีครอบฟัน (Crown) หากเหงือกร่น จะทำให้เห็นตัวฟันที่แท้จริงที่ไม่ได้บังไว้ ซึ่งรากฟันของคุณนั้น ปกติจะสีคล้ำกว่าตัวครอบฟัน หรือคุณอาจจะพบว่าขอบของวัสดุหรือ Porcelain จะแสดงออกมาให้เห็น ไม่ว่าจะสาเหตุอะไรก็ตาม แม้ว่าครอบฟันนั้นจะทำได้เหมือนธรรมชาติเท่าไรก็ตาม

เมื่อเหงือกร่นแล้ว โดยปกติเหงือกจะไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิม ทันตแพทย์อาจจะแนะนำ ให้ผ่าตัดตกแต่งฟัน การปกปิดทำได้โดย ย้ายบางส่วนของครอบฟัน และราก แล้วทำการยึดช่องว่างด้วย Composite Resin เพื่อปิดบังขอบของโลหะ หรือการเปิดราก อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะรักษาความสวยงามนี้ไว้ มีทางเลือกที่ดีกว่า คือการทำให้สีของโลหะค่อย ๆ จางลง หรือปกปิดด้วย Composite ที่สีเข้มกว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ซึ่งการแก้ปัญหาคือการทำครอบฟันใหม่มาแทนที่

ทางที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงจากเหงือกร่น คือการรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก และให้ทัตแพทย์ทำความสะอาดให้ปีละ 3-4 ครั้ง เช่นเดียวกัน ทำการทำความสะอาดทันทีหลังจากใส่ครอบฟัน แม้แต่เนื้อเยื่ออักเสบบวม หากมีแบคทีเรียสะสมรอบ ๆ เหงือกจะกระทบที่เนื้อเยื่อและทำให้เหงือกร่นได้

วิธีการรักษาโรคเหงือกประกอบด้วย

  • การเกลารากฟันและขูดหินปูน
  • การเกลารากฟันและขูดหินปูน เป็นวิธีการเบื้องต้นในรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ
  • ศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อความสวยงาม
  • การผ่าตัดเพื่อตกแต่งเหงือก โดยทั่วไปมักทำเพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่รอยยิ้ม
  • ศัลยกรรมปลูกถ่ายเหงือก
  • การปลูกถ่ายเหงือกเป็นวิธีการแก้ปัญหาเหงือกร่น โดยวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณและความหนาของเหงือกในบริเวณที่เกิดการเหงือกร่น
  • ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน
  • การผ่าตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน โดยปกติจะทำกับฟันหน้า เพื่อเพิ่มความสวยงามให่กับฟันที่เข้ารับการทำครอบฟันหรือเคลือบผิวฟันเพื่อความสวยงาม