EN | TH
Dentist Dental In Pattaya
Tel: (038)488354 , (038)488355
 

Oral Surgery

At OrthoSmile our team of specialists are renowned for their work with braces, dental implants in the "Aesthetic Zone", cosmetic porcelain veneers, ceramic crowns, Invisalign clear braces, and gum contouring surgery. Our dentist team have been educating in the field of cosmetic dentistry for decades and continuing to lead the way in the advancement of cosmetic dental materials, cosmetic periodontal surgery and cosmetic dental implant reconstructions in Thailand.

ถอนฟัน ผ่าฟันคุด

ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำ การตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย

  • 1. การผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด
  • 2. การถอนฟัน
  • 3. การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายกระดูก (Bone graft surgery)
  • 4. การผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียมไททาเนียม (Implant surgery)
  • 5. การผ่าตัดเหงือกก่อนเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ (Pre-prosthetic surgery) เช่นการตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวฟัน (Crown-lengthening)
  • 6. การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic surgery)
  • 7. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร (Surgical correction of jaw excess/deficiency)
    • การปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (Mandibular setback/advancement)
    • การจัดการกับรูปหน้าที่ผิดปกติ (Management of facial deformities)
  • 8. ศัลยกรรมปลูกกระดูกวิธี Sinus Lift

การผ่าฟันคุด

ฟันกรามซี่ในสุดหรือที่เรียกกันว่าฟันคุดนั้น เป็นฟันกรามแท้ชุดสุดท้ายที่จะออกมาตอนช่วงอายุระหว่าง18 ถึง 20 ปีซึ่งในความเป็นจริงฟันกรามชุดนี้ก็มิได้มีความแตกต่างจากฟันซี่อื่นๆเลย มีความสามารถในการบดเคี้ยวเท่าเทียมกับฟันกรามซี่อื่นๆ เพียงแต่น้อยคนนักที่มีฟันกรามขึ้นมาตามปกติพร้อมกับมีตำแหน่ง ลักษณะการขึ้นที่เหมาะสมและมีเหงือกโดยรอบที่มีสุขภาพดี

เมื่อไรก็ตามที่ฟันกรามซี่ในสุดมีอุปสรรคในการขึ้น อาจเนื่องจากลักษณะการงอกออกมา หรืออะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นฟันคุด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการเอ๊กซเรย์ดูลักษณะและตำแหน่งการวางตัวของฟันและวิเคราะห์ถึงความผิดปกติ ก่อนทำการหาวิธีการแก้ไข เนื่องจากฟันคุดเป็นสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก การติดเชื้อ โรคเหงือก การเป็นฝีในช่องปาก หรือ ส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียงสามารถผุได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนั้นทันตแพทย์โดยส่วนใหญ่จะแก้ปัญหานี้โดยการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุดออกไป

ในบางรายที่ถึงแม้ฟันกรามซี่ในสุดจะสามารถขึ้นมาได้อย่างปกติก็ตามทันตแพทย์ก็ยังอาจแนะนำให้ทำการถอนออกไป ถ้าเล็งเห็นว่าฟันซี่นั้นไม่มีประโยชน์ อาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยวและฟันซี่ข้างเคียง หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเหงือกหรือการอักเสบบริเวณนั้นได้ เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณด้านในสุดของช่องปากนั้นมีความยากลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันกรามซี่หลังนั้นสามารถผุได้ง่าย รวมถึงการอักเสบของเหงือกอีกด้วย อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะพิจารณาอาการและปัญหาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไปของผู้เข้ารับบริการแต่ละบุคคล

โรคและอาการต่างๆที่มีสาเหตุจากฟันคุดมีดังนี้

  • คราบหินปูนและแบคทีเรียบนฟันและซอกเหงือก
  • สามารถเกิดการผุได้ง่ายเนื่องจากเป็นอุปสรรคในการทำความสะอาด
  • การเกิดต่อมน้ำหรือก้อนซีสในเหงือก
  • อาจก่อให้เกิดอาการปวดบวม
  • การอักเสบติดเชื้อ
  • โรคเหงือกและขากรรไกร

ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าฟันคุดเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีผลกระทบต่อการสบของฟัน
  • ไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน
  • มีการผุเยอะมาก
  • เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเหงือก หรือสามารถก่อให้เกิดปัญหาโรคเหงือก
  • เป็นสาเหตุให้การบูรณะฟันซี่ข้างเคียงทำได้อย่างยากลำบาก

ผู้ป่วยแต่ละบุคคลจะมีลักษณะการขึ้นของฟันและอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันแพทย์เกี่ยวกับความจำเป็นและวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุด

อาการต่างๆที่เกิดจากการที่ฟันคุดเริ่มงอกออกจากเหงือก

  • อาการปวดบริเวณเหงือก
  • เกิดการอักเสบติดเชื้อ
  • อาการบวมที่หน้า
  • อาการเหงือกบวมบริเวณแผลที่ผ่า

การเข้ารับผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง

ขั้นตอนของการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด

  • 1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค
    • ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน
    • ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
    • ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
  • 2. การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
    • ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
  • 3. ขั้นตอนการผ่าตัด
    • การผ่าตัดเปิดเหงือก
    • การถอนฟันคุดออก
    • การเย็บปิดปากแผล
  • 4. ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน

หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

คำแนะนำและข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด

  • ประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
  • ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  • ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
  • ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
  • สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
  • ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
  • อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์